Regenerative Agriculture ความยั่งยืนของดินเพื่อความยั่งยืนของโลก
โพสเมื่อ : 9 มกราคม 2023
พื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกเสื่อมโทรม ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่ลดลง และเป็นหนึ่งความเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต Regenerative Agriculture จึงเป็นหนึ่งให้แนวทางที่จะเข้ามาช่วยฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
#Regenerative Agriculture คืออะไร?
Regenerative Agriculture หรือ ระบบเกษตรกรรมฟื้นฟู เป็นการปฏิรูปเป็นวิธีการทำการเกษตรที่เน้นสุขภาวะของดิน
#ดิน เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อภาคการเกษตร เมื่อดินมีความอุดมสมบูรณ์ จะส่งผลให้ปริมารผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารเพิ่มมากขึ้น ดินทำหน้าที่เก็บกักน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของพืช ให้อากาศแก่รากพืชเพื่อการหายใจ ดินที่ดีสามารถเก็บคาร์บอนมากขึ้น และมีส่วนในการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างสมดุลให้กับโลก ดินยังเป็นที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์รวมถึงแมลงและเชื้อรา
ในยุคที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มการผลิตอาหารให้สูงสุด จึงได้มีการใช้เครื่องจักร ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้ดินเกิดความเสื่อมโทรมและการสูญเสียคุณค่าของแร่ธาตุและสารอาหารลงไปเป็นอย่างมาก Regeneration International องค์กรด้านการเกษตรฟื้นฟู กล่าวว่าใน 50 ปีข้างหน้า เราอาจจะมีดินไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงประชากรโลก นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมและการถูกกัดเซาะของดิน ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ยิ่งเมื่อโลกร้อนขึ้นจะทำให้ความถี่และความรุนแรงเกิดเพิ่มขึ้นตามมา
แนวทางสู่ Regenerative Agriculture
กุญแจสําคัญในการฟื้นฟูการเกษตรคือไม่เพียง แต่ “ไม่ทําอันตราย” ต่อผืนดิน แต่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของดิน โดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อฟื้นฟูและคืนสมดุลให้กับดินและสิ่งแวดล้อม เพื่อนําไปสู่ดินที่มีสุขภาวะดี สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีสารอาหารหนาแน่น
Regeneration International อธิบายถึงวิธีการของ Regenerative Agriculture ว่าต้องดำเนินการแบบเป็นองค์รวมตั้งแต่ #การลดการไถพรวน ซึ่งช่วยเพิ่มการดูดซับน้ำ ทำให้สิ่งมีชีวิตสำคัญในดินอย่างจุลินทรีย์และเชื้อราต่างๆ ไม่ถูกรบกวน และยังช่วยกักเก็บ CO2 ในดิน (ดินถือเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด การสังเคราะห์แสงของพืชจะดึงเอา CO2 จากชั้นบรรยากาศลงไปสู่ดิน นำไปสู่การลดระดับ CO2 ในชั้นบรรยากาศ)
#การปลูกพืชหมุนเวียน และการเลี้ยงสัตว์ให้หลากหลาย จะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและช่วยรักษาสมดุลในดิน เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารต่างกัน เมื่อมีการปลูกพืชชนิดเดิมซ้ำๆ สารอาหารนั้น ๆ ก็จะหายไป การปลูกพืชหมุนเวียนจึงทำให้ธาตุอาหารในดินถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนี้ ยังรวมถึง #การลดการใช้สารเคมี และนำมูลสัตว์และปุ๋ยหมักมาใช้เพื่อช่วยคืนสารอาหารให้กับดิน
#การจัดการแหล่งอาหารของปศุสัตว์ การปล่อยให้สัตว์กินหญ้าบนที่ดินผืนเดิมอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม ไม่่ควรปล่อยให้สัตว์เล็มหญ้าจนเหี้ยนเตียน ควรให้เหลือพื้นที่ความสูงของใบหญ้าไม่ให้ต่ำกว่า 50% ต่อการเล็มหนึ่งครั้ง เพื่อลดผลกระทบต่อความสามารถในการสังเคราะห์แสงของพืช ช่วยให้พืชสามารถฟื้นฟูชีวมวลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นวิธีการทางการเกษตรแบบปฏิรูปจึงรวมถึงการจัดการแหล่งอาหาร และการย้ายปศุสัตว์ไปยังทุ่งหญ้าที่แตกต่างกัน
ประโยชน์ที่เราจะได้รับจาก Regenerative Agriculture
การปรับปรุงสุขภาพของดิน การคืนความสามารถในการกักเก็บน้ำ และการลดการพังทลายของดิน ผ่านแนวทาง Regenerative Agriculture ทำให้เราสามารถเพิ่มผลผลิตพืชทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ให้สามารถรองรับประชากรโลกที่เติบโตขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งยังช่วยลดการปล่อยมลพิษจากการทำการเกษตร เปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกและทุ่งหญ้าให้กลายเป็นอ่างกักเก็บคาร์บอน ที่จะช่วยดูดซับ CO2 จากชั้นบรรยากาศและแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศของโลก
ประโยชน์อื่น ๆ ของ Regenerative Agriculture ยังรวมถึง การช่วยให้เราสามารถใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพที่มากขึ้นทำให้มีแมลงศัตรูพืชน้อยลง ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเกษตร
ขณะนี้ทั่วโลกมีการตื่นตัวในปฏิรูปการเกษตร ทั้งในเอเชีย ละตินอเมริกา สหรัฐอเมริกา แคนาดา แอฟริกายุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
Neils Olsen เป็นหนึ่งในเกษตรกรตัวอย่างจากออสเตรเลีย เขาเป็นเกษตรกรรายแรกของโลกที่ได้รับค่าตอบแทนผ่านระบบของรัฐบาล ด้วยการกักเก็บคาร์บอนในดิน ระบบของ Olsen เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชผสมผสาน และพืชแทะเล็มเช่นหญ้า ซึ่งช่วยเพิ่มสารอาหารในดิน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มความสารมารถในการกักเก็บคาร์บอนในดิน
ในบราซิลเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายหันมาปลูกพืชหมุนเวียน อาทิ งา ฟักทอง และข้าวโพด ควบคู่ไปกับการปลูกฝ้ายที่เป็นหลัก ทั้งยังใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตฝ้ายเพิ่มขึ้นสามเท่าหลังจากเริ่มโครงการ (ข้อมูลจาก Mongabay)
สำหรับประเทศไทย เราได้เห็นการผลักดันขององค์กรภาครัฐ และการรวมตัวกันของภาคเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ดิน มีการพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรยั่งยืน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การให้ความรู้ ซึ่งจะเป็นเส้นทางสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนของประเทศไทยและยังเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก เพื่อความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
กดติดตาม EECi เพื่อรับข่าวสารด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม email: info@eeci.or.th
=================================
Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi)
Integrate Technologies, Accelerate Innovation
https://www.eeci.or.th/th/home
=================================
#agricuture #regenerative #การเกษตร #ความยั่งยืน #ความมั่นคงทางอาหาร
ที่มา
What is regenerative agriculture? (https://www.weforum.org/agenda/2022/10/what-is-regenerative-agriculture/)
https://regenerationinternational.org/why-regenerative-agriculture/
https://only-good-stuff.com/regenerative-agriculture/?sl=th
Twitter/LinkedIn
พื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกเสื่อมโทรม ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่ลดลง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านอาหาร #Regenerative Agriculture จะมาช่วยฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร อ่านได้ที่ #agricuture #regenerative #การเกษตร #ความยั่งยืน #ความมั่นคงทางอาหาร