บริการทางการเงิน การลงทุน สิทธิประโยชน์ทางภาษี และส่งเสริมนวัตกรรม
บริการสนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยีและการเข้าถึงสิทธิประโยชน์
ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีที่มีความต้องการรับการสนับสนุนด้านการเงิน การลงทุน สิทธิประโยชน์ทางภาษี และช่วยส่งเสริมนวัตกรรมไทยให้เข้าสู่ตลาดภาครัฐ เพื่อสนับสนุน กระตุ้น และเร่งการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ โดยสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ ดังนี้
- Application ช่วยจับคู่บริการแบบอัติโนมัติ
หากท่านคือผู้ประกอบการหรือนักลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี ที่มีความต้องการรับการสนับสนุนด้านการเงิน การลงทุน สิทธิประโยชน์ทางภาษี และช่วยส่งเสริมนวัตกรรมไทยให้เข้าสู่ตลาดภาครัฐ ท่านสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของเราได้ ผ่าน App ช่วยจับคู่บริการแบบอัตโนมัติ
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/r/ifs-match
กรอกข้อมูลพื้นฐาน ->> เลือกบริการ ->> Submit ->> รอการติดต่อกลับภายใน 3 วันทำการ
- การรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการรับรองระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (RDIMS) (มาตรการยกเว้นภาษี 200%)
ให้บริการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และให้บริการรับรองระบบบริหารการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (RDIMS) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเอกชนที่ได้รับการรับรองโครงการวิจัยฯ หรือรับรองระบบ RDIMS จะได้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 200% จากกรมสรรพากร สำหรับรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเป็นการจ่ายให้แก่ผู้รับทำการวิจัยฯ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากร
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/rdp
- การตรวจสอบคุณสมบัติผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย
ให้บริการตรวจสอบคุณสมบัติผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย ในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการนำผลงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมไทย มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถผลิตสู่เชิงพาณิชย์และมีมาตรฐานเทียบเคียงที่เชื่อถือได้ โดยที่หน่วยงานรัฐสามารถจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย โดยวิธีเฉพาะเจาะจงและวิธีการคัดเลือก ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ.2563 (หมวด 4 พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม)
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/innovation
- การร่วมลงทุนโดย สวทช.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะร่วมลงทุนในธุรกิจที่มีผลประโยชน์แก่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และมีผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมที่ชัดเจน ได้แก่ ธุรกิจที่บุกเบิกทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งอาจจะใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมจาก สวทช. หรือเอกชน หรือรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ธุรกิจวิจัยและพัฒนา โดยจะเน้นการลงทุนในธุรกิจที่ตั้งใหม่ที่มีศักยภาพในช่วงเริ่มต้นของการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ โดย สวทช. จะไม่ลงทุนในธุรกิจที่ต้องการสนับสนุนทางด้านการเงินเพียงอย่างเดียว แต่จะพิจารณาบทบาทของ สวทช. ในการพัฒนาและสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเป็นสำคัญ
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/nic
- การร่วมลงทุนโดย บริษัท นาสท์ด้า โฮลดิ้ง จำกัด
นาสท์ด้า โฮลดิ้ง ถือเป็นกิจการเงินร่วมลงทุนของหน่วยงานรัฐ ที่มี สวทช. ถือหุ้นร้อยละ 100 โดยผลักดันการลงทุนใน Deep Tech Startup เพื่อให้มีความยั่งยืนและสร้างความเข้มแข็งให้ระบบนิเวศนวัตกรรมของไทย ส่งเสริมการนำผลงานวิจัยที่เกิดจากองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของ สวทช. และพันธมิตร เพื่อสร้าง Deep Tech Startup ผ่านการทำกิจกรรมที่เอื้อต่อการลงทุนและการร่วมลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยจะร่วมลงทุนในกิจการที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งสามารถร่วมลงทุนตั้งแต่ช่วงจัดตั้งบริษัท ช่วงเริ่มต้นธุรกิจและช่วงเติบโต
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nhc.co.th
- การรับรองกิจการสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่
ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 730 ซึ่งเป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ดำเนินกิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา) ที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายและใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566 ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกำไรที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับการรับรอง
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/tei/service/startup
- การรับรองกิจการสำหรับผู้ลงทุน
- ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 597 และ พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 636 ซึ่งเป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้กิจการเงินร่วมลงทุนทั้งในรูปแบบธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ venture capital (VC) หรือ กองทรัสต์ ที่จดแจ้งเป็นกิจการเงินร่วมลงทุนจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน ซึ่งประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/tei/service/tax - ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 750 ซึ่งเป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้บุคคลธรรมดา และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือ กองทรัสต์ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน ซึ่งประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินกิจการ
รายละเอียดเพิ่มเติมที่: https://www.nstda.or.th/tei/service/startup
- ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 597 และ พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 636 ซึ่งเป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้กิจการเงินร่วมลงทุนทั้งในรูปแบบธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ venture capital (VC) หรือ กองทรัสต์ ที่จดแจ้งเป็นกิจการเงินร่วมลงทุนจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน ซึ่งประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ
- การรับรองกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อประกอบการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ให้บริการรับรองโครงการลงทุนของกิจการ ซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ว่าเข้าข่ายหมวดกิจการที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ประกอบการยื่นขอใช้สิทธิประโยชน์จาก BOI
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/tei/service/boi
- สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ตามมาตรการ Merit based incentives คือนโยบายการจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรมมีการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) ประกาศให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสามารถยื่นขอรับสิทธิ และประโยชน์เพิ่มเติมได้ หากมีการใช้จ่ายด้านการพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการบริจาคเงินสนับสนุนเข้ากองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สวทช.
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/tei/service/sti-fund
- สิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากร
ตามมาตรการบริจาคเงินสำหรับกิจกรรมการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เป็นช่องทางหนึ่งในการใช้แหล่งเงินสนับสนุนจากภายนอก เพื่อใช้ดำเนินการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม ที่จะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม โดยให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่บริจาคเงินให้กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สวทช.
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nstda.or.th/tei/service/tax