th | en
th | en

อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ไทย: เส้นทางสู่การแข่งขันระดับภูมิภาค

โพสเมื่อ : 20 พฤษภาคม 2024

ภาคการบินและโลจิสติกส์ของไทยมีความสําคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นช่องทางสำคัญสำหรับการค้า การท่องเที่ยว และการเชื่อมต่อกับโลก เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันใน ประเทศไทยจําเป็นต้องจัดการกับประเด็นยุทธศาสตร์หลายประการ

แม้ว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการบินที่ได้รับการพัฒนามาอย่างดี ภาคโลจิสติกส์ที่เข้มแข็งด้วยเครือข่ายทางถนนและทางรถไฟที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลเศรษฐกิจของประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออก แต่ไทยยังเผชิญกับความท้าทายหลายประการ รวมถึงข้อจํากัดด้านขีดความสามารถของบุคคลากรด้านการบิน การพัฒนาเทคโนโลยี และการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว

ไทยจึงต้องเร่งให้เกิดการปรับตัวในหลายด้านตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการขยายและปรับปรุงสนามบินที่มีอยู่ โดยเฉพาะสุวรรณภูมิและดอนเมือง เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารและสินค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงพัฒนาส่วนต่อขยายสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ยังขยายโครงข่ายพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมโยงสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดําเนินงานด้านโลจิสติกส์และลดเวลาในการขนส่ง

หัวใจสำคัญอีกประการ ของการยกระดับความสามารถ คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ ประเทศไทยต้องการแรงงานที่มีทักษะ จึงต้องมีการปรับปรุงโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และการบิน ให้สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรม

ด้วยเหตุนี้ เมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ร่วมมือกับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ว่าด้วยความร่วมมือเรื่องการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านการบิน โดยมีผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมพิธีลงนามดังกล่าวอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุม Auditorium เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) สำนักงานใหญ่ วังจันทร์วัลเลย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยง ประสานงานกันเป็นเครือข่ายด้านการพัฒนานวัตกรรมการบินควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรระดับอุดมศึกษา หวังปั้นเป็นศูนย์กลางด้านการบินแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Hub of Aviation) เพื่อสอดรับกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยผ่านการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะสามารถยกระดับขีดความสามารถด้านการบินและโลจิสติกส์ ให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการเดินทางในภูมิภาคและระดับโลก จากความได้เปรียบด้านทําเลที่ตั้งของประเทศ โครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนา การปฏิรูปกฎระเบียบที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และแรงงานที่มีทักษะ จะเป็นเครื่องมือในการรักษาและขยายขีดความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียนต่อไป

กดติดตาม EECi เพื่อรับข่าวสารด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0-2564-8000  email: info@eeci.or.th

=================================

Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi)

Integrate Technologies, Accelerate Innovation

https://www.eeci.or.th/th/home

=================================

footer-shape