• Home
  • / News
  • / ปัจจัยสู่ความสำเร็จข...

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ Deep Tech Startup

Post Date : 29 July 2021

Deep Tech Startup กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคม ด้วยการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาแก้ไขปัญหาระดับโลกต่าง ๆ ตัวอย่างของ Deep Tech เหล่านี้ได้แก่ Artificial Intelligence (AI), Machine Learning, Robotics, Blockchain, Advanced Sensing, Synthetic Biology, Quantum Computing, Internet of Things (IoT), Augmented Reality (AR) เป็นต้น

Deep Tech Startup เติบโตจากการนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ในการวิจัยและพัฒนาในห้องทดลอง จนเป็นสินค้า/บริการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัยและลอกเลียนแบบได้ยาก โดยมุ่งเป้าในการแก้ปัญหาในระดับ megatrends (อาทิ การขาดแคลนอาหาร การขาดแคลนพลังงานและทรัพยากร รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม)

ตัวอย่าง Startup หน้าใหม่ในสาย Deep Tech ที่น่าจับตามอง อย่างเช่น Biofiber ที่ได้พัฒนากระบวนการเพื่อทดแทน fossil-based plastics ด้วยการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ที่ผลิตจากทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ (Renewable Resources) อย่างไฟเบอร์จากไม้นำมาผลิตเพื่อทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก; Graphcore ซึ่งได้พัฒนา processor ชนิดใหม่ที่เรียกว่า Intelligence Processing Unit (IPU) ที่ออกแบบเพื่อใช้งานกับ AI โดยเฉพาะ; หรือบริษัท AImotive ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยี AI-powered self-driving เป็นต้น

กระแสของ Deep Tech ยังได้รับความสนใจจากบริษัทขนาดใหญ่ทั่วโลกด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook, Amazon, IBM, และ Microsoft ที่ร่วมมือกันทำการศึกษาวิจัยด้าน AI หรือผู้ให้บริการด้านการขนส่งอย่าง Uber ก็อยู่ระหว่างการพัฒนาบริการ Driverless Car Services เช่นกัน

ความน่าสนใจของ Deep Tech มาพร้อมกับความท้าทายที่ Startup ต้องเผชิญ ตั้งแต่ในเรื่องของเรื่องของ Time-to-Market เรื่องของเงินทุนที่เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและความซับซ้อน

แน่นอนว่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความเข้มข้นของเทคโนโลยีสูงย่อมต้องมาคู่กับการใช้ระยะเวลาในการพัฒนา ทดลอง และปรับปรุงที่นานขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเรื่องของเงินทุนที่ต้องใช้มากขึ้น อีกทั้งเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้ในการทดลองและทำต้นแบบยังมีมูลค่าสูงกว่า ในส่วนของความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและความซับซ้อนนั้นโดยมากจะมาเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา Deep Tech Innovation นั้นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ทำให้เกิดความซับซ้อนยุ่งยากในการทดสอบทดลองและวัดผล

นอกจากนี้ปัญหาที่ Deep Tech Startup มีความกังวลก็คือในส่วนของ Market Access (การหาช่องทางการจัดจำหน่าย การเข้าถึงลูกค้าหรือฐานข้อมูลของลูกค้าเป้าหมาย) การเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และความรู้ในด้านของการทำธุรกิจ

จากความท้าทายดังกล่าว The Boston Consulting Group (BCG) ได้พูดถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของ Deep Tech Startup ว่าประกอบด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน ตั้งแต่ในเรื่องของ Ecosystem ว่าเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาให้เกิด Deep Tech Innovation โดย Ecosystem นี้จะหมายถึงการที่ ผู้คน บริษัท โครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายของภาครัฐ มีการเชื่อมโยงกันผ่านโครงข่ายทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

โครงการในการบ่มเพาะและ Accelerate ผู้ประกอบการใหม่ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้ Startup สามารถแปลงความก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีให้กลายเป็นโมเดลทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ เนื่องด้วย Deep Tech Startup นั้นโดยมากมาจากกลุ่มคนที่ทำงานในสายของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การได้รับความรู้ทางด้านการทำธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตั้งแต่ดูความพร้อมของตลาด การวางแผนการตลาดและการขาย เป็นต้น นอกจากนี้การสร้าง network ระหว่าง Startup ด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ โดยเฉพาะกับรายที่ประสบความสำเร็จหรือมีชื่อเสียงก็มีส่วนในความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรมด้วยเช่นกัน

สิ่งสำคัญอีกประการที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องของสิทธิบัตรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยปกป้องและรักษาความสามารถทางการแข่งขันของ Deep Tech Startup ได้ในระยะยาว ช่วยให้สามารถนำเอาไอเดียนั้นมาพัฒนาต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ Angel Investor และ Corporate Venture Capital (CVC) เกิดความสนใจที่จะลงทุนใน Deep Tech Startup เพราะทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่าสูงเหล่านี้ มีแนวโน้มจะนำผลตอบแทนที่สูงกลับมาเช่นกัน และยังเป็นผลตอบแทนในระยะยาวเนื่องจากเป็นสิ่งทีคู่แข่งจะพัฒนาตามหรือเลียนแบบได้ยาก

สำหรับประเทศไทยในขณะนี้มีองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยที่ทำงานนร่วมกันเป็นเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของ Deep Tech Startup สัญชาติไทย ในส่วนของ EECi ก็ได้มีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัย มีมูลค่าสูงสนับสนุนนวัตกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและช่วยลดภาระการลงทุนของ SMEs และ Startup อาทิ เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ระดับพลังงาน 3 GeV, โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี, โรงเรือนเทคโนโลยีฟีโนมิกส์, ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน, เครื่องมือวิเคราะห์และทดสอบ} โรงงานทดลองผลิตชิ้นงานต้นแบบ, สนามทดลองและทดสอบ (Testbed) ภายใต้ Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม พร้อมกลไกสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในแง่ของภาษีและไม่ใช่ภาษีกดติดตาม EECi เพื่อรับข่าวสารด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0-2564-8000 email: info@eeci.or.th

=================================

Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi)Integrate Technologies, Accelerate Innovationhttps://www.eeci.or.th/

=================================

อ้างอิงที่มาข้อมูลFrom Tech to Deep Tech – Fostering collaboration between corporates and startups (The Boston Consulting Group)

footer-shape