สร้างนวัตกรรมด้วยกระบวนการคิดแบบ Design Thinking
Post Date : 29 July 2021
เราอาจคิดว่าการสร้างนวัตกรรมนั้นต้องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัย แต่ในปัจจุบัน เมื่อวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป ความต้องการของผู้บริโภคมีความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับการ Disrupt ของ Digital Technology ที่ช่วยเปิดโอกาสให้องค์กรและผู้บริโภคมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ (Startup) สามารถแข่งขันกับองค์กรขนาดใหญ่ได้ด้วยนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคยุคใหม่ได้
ความได้เปรียบในการพัฒนานวัตกรรมในยุคปัจจุบัน จึงไม่ได้อยู่ที่ขนาดขององค์กร แต่จะอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้คนมีความกล้าคิด กล้าถาม กล้าลงมือทำ และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ โดยไม่ยึดติดกับความสำเร็จและไม่หวาดกลัวต่อความล้มเหลว
Design Thinking จึงเป็นกระบวนการในการพัฒนานวัตกรรมโดยการเอาผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (Human-centered methodology) โดยเริ่มต้นมาจากการทำความเข้าใจถึง Pain Point และความต้องการที่ของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง (Insight) เพื่อออกแบบให้เป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่ากับผู้ใช้อย่างแท้จริง โดยกระบวนการในการทำ Design Thinking ประกอบไปด้วย
- Empathize – คือการทำความเข้าใจความต้องการและลักษณะพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถชี้ชัดถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน (Insight) ซึ่งความยากบางทีก็อยู่ที่ผู้ใช้ไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร
- Define – เป็นการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการระบุและตีกรอบปัญหาของผู้ใช้งาน (Root Cause)
- Ideate – เป็นการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อหา Idea ในการแก้ปัญหา โดยในขั้นตอนนี้ต้องเปิดกว้างให้ทีมงานนำเสนอไอเดีย กระตุ้นการคิดนอกกรอบ โดยไม่ต้องคำนึงถึง How แต่ให้เน้นที่ปริมาณของ Idea ที่สามารถเอามาแก้ปัญหาได้ให้มากพอที่จะคัดสรรออกมาเป็น Idea ที่น่าจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีที่สุด
- Prototype – เป็นขั้นตอนในการพัฒนาต้นแบบ หรือ แบบจำลอง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของกระบวนการ Design Thinking ที่มีการพัฒนาจาก Idea ไปสู่ของจริงที่จับต้องได้ หรือ เข้าใจได้ ถึงแม้ว่า Prototype จะยังไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ แต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้มีประสบการณ์จริง และบอกได้ว่าส่วนไหนของไอเดียที่พวกเขาชอบ และไอเดียใดยังต้องปรับปรุง
- Test – คือการนำ Prototype มาทำการทดสอบกับผู้ใช้ เพื่อนำผลตอบรับมาปรับปรุงต่อไป
กระบวนการ Design Thinking จึงมีลักษณะเป็นการทำงานเป็นแบบ Iterative คือต้องทำซ้ำเป็นวงรอบ เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบ Learning by Doing เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่ของความเป็นไปได้เชิงเทคโนโลยีและความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจ
กดติดตาม เพื่อรับข่าวสารด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0-2564-8000 email: info@eeci.or.th
=================================
Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi)
Integrate Technologies, Accelerate Innovation
=================================
อ้างอิงที่มาข้อมูล:
DESIGN THINKING “อาวุธ” ต่อสู้กับโลกแห่งดิสรัพชั่น (https://www.phonlamuangdee.com)
Design Thinking สำหรับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม (https://www.mbamagazine.net)
การพัฒนานวัตกรรมด้วย Design Thinking (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
Twitter/LinkedIn
มาทำความรู้จักกับ Design Thinking กระบวนการในการพัฒนานวัตกรรมโดยการเอาผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง เพื่อออกแบบให้เป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่ากับผู้ใช้อย่างแท้จริง
อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/EECiThailand
#EECi #innovation #aripolis