th | en
th | en

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองมุมมองด้านความยั่งยืนของผู้บริโภค

โพสเมื่อ : 3 กรกฎาคม 2024

ปัจจุบันบริษัทต่างต้องเผชิญกับความท้าทายในการพยายามบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจ ในเวลาเดียวกันก็ต้องตอบเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ใกล้จะมาถึงในปี 2573 อีกทั้งตลาดก็มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และขยะ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคก็ยังคงให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล เช่น รสชาติ ดีไซน์ และความคุ้มค่า (มากกว่าความยั่งยืน)

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนส่วนใหญ่ยังต้องปรับปรุงทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพ ต้นทุนและคุณภาพ ซึ่งถือเป็นความท้าทายลำดับต้นๆ ขององค์กรภาคธุรกิจ Boston Consulting Group (BCG) ได้สรุปแนวทางในการที่จะช่วยให้บริษัทสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดของการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน พร้อมเพิ่มความสามารถในการทำกำไร และจัดการกับข้อจำกัดในการผลิตได้ในเวลาเดียวกัน

แนวทางนี้เป็นการผสาน โซลูชั่นทางการตลาดและข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า (Customer Intelligence) เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบการให้ Priority ของลูกค้าในแต่ละปัจจัยอย่างลึกซึ่ง ผ่านกระบวนการความคิดใหม่และนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง Deep tech ใช้วัสดุใหม่ๆ เช่น วัสดุที่ผลิตผ่านชีววิทยาสังเคราะห์ควบคู่กับเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น AI และหุ่นยนต์

โดยการประยุกต์ใช้หลักการเหล่านี้ บริษัทสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืน และคุ้มค่ากับการจ่าย อย่างไรก็ตาม ช่องว่างอันเกิดจากความไม่สอดคล้องระหว่าง “คำพูด-การกระทำ” ของลูกค้ายังเป็นปัจจัยที่ภาคธุรกิจยังคงต้องกังวล เพราะแม้ว่าลูกค้าจะแสดงให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืน แต่ในแง่ของการกระทำแล้ว อาจยังไม่ได้สะท้อนไปถึงรูปแบบในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า

แต่หากมองในภาพรวม ปัจจุบันเราได้เห็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในหลายอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์ทั้งความยั่งยืน ช่วยเรื่องคุ้มค่า ประหยัดเวลา และทำงานได้ดีขึ้น การสร้างนวัตกรรมสีเขียวจึงยังควรเป็นกลยุทธ์ระยะยาวขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและขยายส่วนแบ่งตลาดให้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักขององค์กรต่อไป

โดยเราได้สรุป 4 หลักการสำคัญของ BCG ไว้ดังนี้

  1. สร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันตามความต้องการในแต่ละด้าน เพื่อระบุปัจจัยที่ผลักดันความสำเร็จของผลิตภัณฑ์และจุด tradeoff ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่มสามารถยอมรับได้
  2. คิดใหม่โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์แบบ “What if” และออกแบบคำถามเพื่อนำไปสู่การก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างเป็นโมเดลธุรกิจใหม่อย่างเต็มรูปแบบ
  3. ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น ตอบสนองพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปและตอบความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ลดการให้ความสำคัญกับเรื่องที่สำคัญน้อย และมุ่งในการขยายตลาดผ่านนวัตกรรมและสร้างพันธมิตร
  4. บูรณาการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาด และภารกิจของบริษัทเข้าด้วยกันอย่างมีระบบเพื่อหาโซลูชันที่ตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจและความยั่งยืน

เมื่อใช้หลักการเหล่านี้ ผลลัพธ์ที่ได้จะเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพและช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถเร่งเวลาในการเข้าสู่ตลาด ลดความเสี่ยงของการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนกับสภาพแวดล้อมทางภูมิอากาศได้อย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทต้องเริ่มเปลี่ยนวิธีการสร้างนวัตกรรมตั้งแต่ตอนนี้ องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะสามารถเพิ่มผลกำไรและความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว นับจากนี้ไปการสร้างนวัตกรรมที่ยั่งยืนจะเป็นความต้องการหลักของผู้บริโภคและจะเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืนสำหรับโลก และจะส่งเสริมความยั่งยืนทางธุรกิจต่อไป

กดติดตาม EECi เพื่อรับข่าวสารด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0-2564-8000  email: info@eeci.or.th

=================================

Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi)

Integrate Technologies, Accelerate Innovation

https://www.eeci.or.th/th/home

=================================

ที่มา:

https://www.bcg.com/publications/2024/can-deep-tech-innovation-generate-green-products

footer-shape